bootstrap carousel

ความรู้

ความรู้ที่เกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ


ข้อมูลทั่วไปของดาวเทียม GOSAT และดาวเทียม OCO2


3.1 ข้อมูลทั่วไปของดาวเทียม GOSAT

3.1.1 ดาวเทียม IBUKI (GOSAT)

The Greenhouse Gases Observing Satellite IBUKIGOSATCO2 CH4 โดยถูกสร้างขึ้นจากความร่วมมือระหว่างองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (The Japanese Aerospace Exploration Agency: JAXA) National Institute for Environmental Studies (NIES) และ Ministry of the Environment, Japan (MOE) ถูกส่งเข้าสู่วงโคจรของอวกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ที่ศูนย์อวกาศ Tanegashima ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะ Kyushu ในประเทศญี่ปุ่น ดังแสดงในรูปที่ 2.12 ใช้เวลาในการโคจรกลับมาที่เดิม 3 วัน ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกมีความละเอียดเชิงพื้นที่อยู่ที่ 10.5 กิโลเมตร

 

 

รูปที่ 3 Greenhouse Gases Observing Satellite (GOSAT)

ที่มา: http://tinyurl.com/q4sx49z

ดาวเทียม GOSAT สามารถตรวจวัดการสะท้อนแสงและค่าการแผ่รังสีช่วงคลื่นอินฟาเรดความร้อนจากพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ รวมถึงการดูดกลืนคลื่นรังสีดังกล่าวของอนุภาคก๊าซเรือนกระจก เช่น CO2 และ CH4  โดยตำแหน่งของดาวเทียม GOSAT อยู่ที่ระดับความสูง 666 กิโลเมตรจากพื้นโลก ใช้เวลาในการโคจรรอบโลก 1 ชั่วโมง 40 นาที และจะโคจรกลับมาสำรวจในจุดเดิมทุก 3 วัน ดาวเทียม GOSAT มีอุปกรณ์รับสัญญานข้อมูลที่ชื่อว่า Thermal And Near-infrared Sensor for carbon Observation (TANSO) ประกอบด้วยอุปกรณ์ 2 ตัว คือ FTS ( Fourier Transform Spectrometer ) และ CAI ( Cloud and Aerosol Imager) โดย FTS สามารถตรวจวัดค่าปฏิสัมพันธ์เชิงคลื่นได้ 4 ช่วงคลื่น (bands) คือ Short Wave-Infrared (SWIR) 3 แบนด์ และ Thermal Infrared 1 แบนด์

ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม GOSAT ได้จากเว็บไซต์ http://data.gosat.nies.go.jp โดยมีข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2553 – ปัจจุบัน หน่วยงานผู้ให้บริการและดูแลข้อมูลนี้ คือ National Institute for Environmental Studies (NIES) ของประเทศญี่ปุ่น

3.1.2 ดาวเทียม IBUKI (GOSAT 2)

บริษัท Mitsubishi Electric Corporation มีโครงการสนับสนุนองค์กรสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (The Japanese Aerospace Exploration Agency: JAXA) ในการพัฒนาดาวเทียมเพื่อติดตาม และตรวจสอบก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ Greenhouse gases Observing SATellite-2 (GOSAT-2) ภายใต้ความร่วมมือของ Japan’s Ministry of the Environment และองค์กร the National Institute for Environmental Studies ซึ่งจะปล่อยดาวเทียมเข้าสู่วงโคจรในปี พ.ศ. 2560 โดยคุณสมบัติของ GOSAT-2 ที่กำลังพัฒนาขึ้นนี้ ดังแสดงในรูปที่ 4 ประกอบด้วยอุปกรณ์ตรวจวัดที่มีความละเอียดสูง ซึ่งสามารถใช้ในการตรวจวัดก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ไอน้ำ (H2O) ออกซิเจน (O2) ก๊าซมีเทน (CH4) และอนุภาคฝุ่นหรือเมฆในชั้นบรรยากาศโดยสิ่งที่จะถูกพัฒนาขึ้นใน GOSAT-2 มีดังนี้

(1) high-performance instruments) ดาวเทียม GOSAT (IBUKI) ความแตกต่างระหว่าง GOSAT-2 และ GOSAT เช่น ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลของ GOSAT จะครอบคลุมการตรวจวัดคาร์บอนไดออกไซด์ความเข้มข้นเฉลี่ย 4 PPM ทุกๆ 3 เดือนในพื้นที่ 1,000 ตารางกิโลเมตร ในขณะที่ GOSAT-2 สามารถตรวจวัดความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ย 0.5 PPM ในแต่ละเดือน โดยครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ 500 ตารางกิโลเมตรเหนือพื้นดิน และ 2,000 ตารางกิโลเมตรเหนือผืนน้ำ เป็นต้น

(2) (CO)GOSAT

(3) GOSAT-2 Turnkey system for ensured data quality

 

  • 4 ดาวเทียม GOSAT-2

ที่มา: http://www.mitsubishielectric.com/news/2014/0409.html


เผยแพร่เมื่อ: 2017-10-12 01:40:03

สถานที่ติดต่อ

120 หมู่ที่ 3 ชั้น 9
อาคารรัฐประศาสนภักดี
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ
ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง
เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

ช่องทางติดต่อ

อีเมล์ : info@tgo.or.th
โทรศัพท์ : 0 2141 9837
, 0 2141 9788